วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บาป 7 ประการ


บาป 7 ประการ




      บาป 7 ประการ (อังกฤษ: seven deadly sins) เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคในอดีตกาล ให้มนุษย์ไม่ทำตามสัญชาตญาณของตนมากจนเกินไป ทางศาสนาคริสต์ได้แบ่งบาปออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่สามารถยกโทษให้ได้ และ แบบรุนแรง ในต้นศตวรรษที่ 14 หลักคำสอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปิน (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน) ผลงานศิลปะมากมายที่สื่อถึงบาป 7 ประการแพร่ไปทั่ววัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก

      บาปทั้ง 7
      เรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ตามคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ในคริสต์ศตวรรษที่ 6

ราคะ (ภาษาละติน: luxuria ลุกซุเรีย ; ภาษาอังกฤษ: lust)



      การคิดในทางเสื่อม ความต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น ความต้องการความเร้าใจ หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไป หรือที่ผิดมนุษย์ปกติ ความใคร่ที่เกิดขึ้นในทางทุจริต เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง การข่มขืน การมีชู้ แอสโมดิวส์ ปีศาจที่หลงรักมนุษย์หญิงสาวคนอื่นและฆ่าชายที่จะแต่งงานกับนางทุกคน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์แห่งราคะคืองูหรือวัว สีประจำบาปนี้คือสีน้ำเงิน บทลงโทษผู้กระทำบาปข้อนี้คือ ถูกรมด้วยสารกำมะถันและไฟ และ ตัดอวัยวะเพศ
     ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดราคะคือ ความบริสุทธิ์ ความหวงแหนในพรหมจรรย์

มหาบาปที่ 3 Asmodeus จอมปีศาจแห่งราคะ


ตะกละ (ภาษาละติน: gula กูลา ; ภาษาอังกฤษ: gluttony)



      การสนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น บริโภคสิ่งต่างๆจนขาดการการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่งๆ ต่างๆ โดยไม่คำนึงสนใจ หรือเห็นใจคนอื่น ทำให้เวลาสรรเสริญพระเจ้าน้อยลง และยังเป็นบาปที่สามารถชักจูงให้ทำบาปอื่นๆ ได้ เช่น ปรารถนาในความหิว (ราคะ) ฆ่าเพราะความหิว (โทสะ) เป็นต้น เบลเซบับ เจ้าชายแห่งนรกหรือเจ้าแห่งหมู่แมลงวัน เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของตะกละคือหมูหรือกา สีประจำบาปคือสีส้ม บทลงโทษของผู้ที่ตะกละในนรกคือการที่ถูกกินทั้งเป็นโดยหนู คางคก และงู
     ตะกละสามารถแบ่งออกเป็น
Praepropere - กินเร็วเกินไป
Laute - กินแพงเกินไป
Nimis - กินมากเกินไป
Ardenter - กินอย่างกระตือรือร้นเกินไป
Studiose - กินอย่างประณีตเกินไป
Forente - กินอย่างแรงกล้าเกินไป

       ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดตะกละคือ ความพอดี การยับยั้งชั่งใจ

มหาบาปที่ 5 Beelzebub จอมปีศาจแห่งความตะกละ


โลภะ (ภาษาละติน: avaritia อวาริเทีย ; ภาษาอังกฤษ: greed/avarice)



      ความทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทางหรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภะรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนา และเป็นการหักหลังต่อผู้นับถือคริสต์ศาสนาอีกด้วย แมมมอน ปีศาจแห่งความมั่งคังที่ไม่เป็นธรรม เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโลภะคือ กบ สีประจำบาปคือสีเหลือง บทลงโทษของผู้ที่โลภมากคือการถูกแช่ในน้ำมันเดือด
      ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโลภะคือ ความเมตตา การแบ่งปัน

มหาบาปข้อที่ 2 Mammon จอมมารแห่งความโลภในเงินตรา 


เกียจคร้าน (ภาษาละติน: acedia อาซีเดีย ; ภาษาอังกฤษ: sloth/laziness)



      ความไม่สนใจใยดีต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเลยที่จะทำดีรวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉยๆ รักษาสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมากเช่นกัน เบลฟีเกอร์ ปีศาจผู้ไม่ยอมทำอะไรเพียงแต่บอกให้มนุษย์คอยทำสิ่งเหล่านั้นให้เป็นปีศาจประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของเกียจคร้านคือแพะ สีประจำบาปคือสีคราม บทลงโทษของผู้เกียจคร้านคือการถูกโยนลงไปในบ่องูพิษ
      ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดเกียจคร้านคือ ความกระตือรือร้น ความทะเยอทะยาน

มหาบาปที่ 6 Belphegor จอมปีศาจแห่งความเกียจ


โทสะ (ภาษาละติน: ira ไอรา ; ภาษาอังกฤษ: wrath)



      ความโกรธเคืองและพยาบาทที่ขาดความเหมาะสม การทนรับสภาพในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ การแสวงหาหนทางผิดกฎหมายบ้านเมือง ในศีลธรรมในการล้างแค้น การมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่างๆแก่บุคคลที่ตนไม่ชอบ รวมถึงการไม่ชอบบุคคลอื่นโดยไร้เหตุผล เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา นำไปสู่การฆ่าและฆาตกรรมผู้อื่น โมหะคือความโกรธที่ไม่ต้องการที่จะยกโทษ ซาตาน ปีศาจแห่งความมืดเป็นตัวแทนประจำบาปข้อนี้ สัญลักษณ์ของโมหะคือหมี สีประจำบาปคือสีแดง บทลงโทษของผู้ที่มีบาปโมหะคือ การถูกฉีกร่างทั้งเป็น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)
      ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโมหะคือ ความนอบน้อม การให้อภัย

มหาบาปที่ 7 Satan เจ้าแห่งความชั่วร้าย ราชาแห่งนรก


ริษยา (ภาษาละติน: invidia อินวิเดีย ; ภาษาอังกฤษ: envy)



      ความปรารถนาให้ผู้อื่นรับเคราะห์ การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆ ดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ ลักษณะรูปร่างนิสัย และ การประสบความสำเร็จ ความอิจฉานำไปสู่การรังเกียจตัวเอง ต้องการอยากเป็นผู้อื่น นำไปสู่การขโมยและทำลายผู้อื่น ความอิจฉาริษยาเป็นการพัฒนาต่อจากตะกละและโลภะที่สุดขั้ว ลิวาธาน ปีศาจอสรพิษทะเลแห่งนรก ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านพระเจ้าถือเป็นปีศาจประจำบาปนี้ สัญลักษณ์ของริษยาคือสุนัข สีประจำบาปคือสีเขียว บทลงโทษผู้ที่มีความอิจฉาคือถูกเย็บตาอย่างทรมาน
      ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดอิจฉาคือ ความกรุณา ความเผื่อแผ่

มหาบาปที่ 4 Leviathan จอมมารแห่งความอิจฉาริษยา


โอหัง (ภาษาละติน: superbia ซูเปอร์เบีย ; ภาษาอังกฤษ: Vanity/pride)



      โอหังเป็นยอดแห่งบาปทั้งปวง หมายถึงความต้องการเป็นผู้ที่มีความสำคัญและอำนาจเหนือผู้อื่น (เช่นต้องการเป็นพระราชา) การที่รักตนเองมากจนเกินไป หลงในอำนาจและรูปลักษณ์ของตัวเอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบตนเองเทียบเท่ากับพระเจ้า) ซึ่งบาปประการนี้ทำให้ ลูซิเฟอร์ (ปีศาจประจำบาปนี้) ถูกขับไล่ออกจากสวรรค์ เนื่องจากลูซิเฟอร์เห็นว่าตนมีอำนาจเท่ากับพระเจ้าและสามารถสร้างพรรคพวกของตัวเองเพื่อต่อต้านและไม่เคารพพระเจ้า คนที่มีความโอหังจะสนใจเฉพาะตนเองเท่านั้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเป็นเช่นไร สัญลักษณ์ของอัตตาคือ ม้า สิงโต หรือ นกยูง สีประจำบาปคือสีม่วง บทลงโทษของผู้ที่โอหังคือการถูกทรมานบนวงล้อ (มัดกับวงล้อแล้วให้วงล้อหมุนเรื่อยๆ ผู้ถูกทรมานจะถูกบดขยี้กับพื้น)
      ศีลธรรมที่ช่วยกำจัดโอหังคือ ความถ่อมตน การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

มหาบาปที่ 1 Lucifer จอมมารแห่งความหยิ่งผยอง  



      เจ็ดมหาบาปได้ถูกรวบรวมไว้โดย นักบุญ เกกอรี่ (St. Gregory the Great) ในศตวรรษที่ ๖ ทั้งนี้ บาปทั้งเจ็ดนั้นก็ได้มีบทบาท โดย กลุ่ม ซัมมาเทววิทยา (Summa Theologica) ในศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งได้แบ่งแยกและอถิบายโดยนักบุญโทมัส อาควีนัส (St. Tomas Aquinas) ว่าสิ่งเหล่านี้คือ "ตัณหา"

      บาปเหล่านี้เป็นตัวแทนของการทำผิดศีลธรรม
      หรือเป็นการกระทำที่จะทำให้ไม่สามารถไปสู่สุขติ หรือ สวรรค์ได้

      บาปเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นพิษร้ายแรง หรือเรื้อรัง ต่อจิตใต้สำนึก และจิตวิญญาณ ทั้งเป็นการล่อลวง การหลงใหล การชักจูง ความต้องการ หรือแม้แต่สัญชาติญาณ ใครที่ได้ลุ่มหลงไปกับมันจะได้พบแต่ความหายนะ ทั้งกายใจจิตวิญญาณและคนรอบข้าง

      แล้วทำไมต้องเป็นเลข ๗ ?
      เลขเจ็ดเป็นเลขที่มีพลังในตัวเอง สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวัน เจ็ดมหาสมุทร สวรรค์มีเจ็ดชั้น เจ็ดเป็นเลขที่เป็นที่นิยมของจอมเวทย์โบราณที่ทำการปลุกเสก
      ยกตัวอย่างบทหนึ่งในมหาคัมภีร์มหาเวทย์
      Take 7 prickles from 7 palm tress, 7 chips from 7 beams, 7 nails from 7 bridges, 7 ashes from 7 ovens, 7 scoops of earth from 7 door sockets, 7 pieces of pitch from 7 ships, 7 handful of cumin, and 7 hair from the beard of an old dog, and tie them to the neck-hole of the shirt with a white, twisted thread

      มหาบาปทั้ง ๗ นั้น พูดง่ายๆ คือบาปที่ไม่สามารถอภัยบาปให้ได้

      ซึ่งตามปรกติแล้วสำหรับชาวคริสต์ "บาปเบา" สามารถให้อภัยได้ โดยการไปสารภาพบาปกับบาทหลวง ทว่า มหาบาปทั้ง ๗ นั้น จัดว่าเป็นบาปหนัก ไม่สามารถอภัยได้ ใครที่มีบาปนี้ติดตัวก็เหมือนมีรอยสักบนวิญญาณของตน ทำให้ไม่สามารถไปสู่สวรรค์ได้เมื่อวิญญาณออกจากร่าง
      บาปทั้งเจ็ดนั้น ได้เป็นตัวแทนของจอมปีศาจทั้ง ๗ ของนรก ซึ่งจะล่อลวงมนุษย์ให้ทำบาปนั้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://writer.dek-d.com/0012/story/viewlongc.php?id=446421&chapter=122


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น